วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รถที่เเพงที่สุดในโลก

รถที่เเพงที่สุดในโลก
อันดับที่ 10

Mybach 57S

ราคา $430,355 US

สำหรับอันดับที่ 10 นี้ยกให้กับ ยอดรถยนต์สุดหรูสำหรับผู้ดีจากประเทศเยอรมัน ด้วยค่าตัวสูงสุดถึง 430,355 เหรียญสหรัฐ

มาพร้อมเครื่องยนต์ V12 พลัง 604 แรงม้า ความเร็ว 0- 100 Km/h เพียง 5.2 วินาที ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ 250 Km/h






อันดับที่ 9
Porsche Carrera GT

ราคา $440,000 US

สุดยอดรถแข่ง F1 เทคโนโลยีจากสนามสู่ท้องถนน Carrera GT จัดอันดับเป็นสุดยอด Super Car ระดับโลก

ด้วยเครื่องยนต์แบบ L ขนาด 5.7 ลิตร V10 พลัง 605 แรงม้าที่ 6000 รอบต่อนาที ความเร็ว 0-100 เพียง 3.9 วินาที

ความเร็วสูงสุด 330 Km/h ด้วยเทคโนโลยีเดียวกับรถแข่ง ทำให้ Carrera GT มีค่าตัวถึง 440,000 เหรียญสหรัฐ





อันดับที่ 8
Mybach 62

ราคา $448,153 US

รถยนต์ซีดานที่ได้รับการโหวตว่า มีมหาเศรษฐีใช้มากที่สุดในโลก Mybach 62 จัดอันดับเป็นรถที่แพงที่สุดอันดับ 8 ของโลก

ด้วยเทคโนโลยีจากบริษัท Mercedes Benz และเครื่องยนต์แบบ V12 พลัง 543 แรงม้า

ทำให้รถซีดานคันนี้ทะยานตัวทำความเร็ว 0-100 เพียง 5.4 วินาที กับความเร็วตีนปลายถึง 250 Km/h






อันดับที่ 7
Mercedes Benz SLR Mclaren

ราคา $452,750 US

สุดยอดรถสปอร์ทจากค่ายดาวสามแฉก Mercedes Benz ร่วมมือกับ Mclaren ออกมาเป็นสุดยอดรถในชื่อ SLR Mclaren

ด้วยการออกแบบ Super Car แนว BARROQUE เครื่องวางหน้าขับหลัง แบบ V8 ความจุ 5.5 ลิตร 617 แรงม้า

ความเร็ว 0-100 เพียง 3.6 วินาที ความเร็วตีนปลายถึง 343 Km/h





อันดับที่ 6

Koenigsegg CCR

ราคา $600,000 US

โคนิกเซ็กก์ สุดยอด Super Car จากประเทศสวีเดน ออกแบบสร้างโดย คริสเตียน แวน โคนิกเซ็กก์

เพื่อที่จะทำลายสถิติสุดยอดรถที่เร็วที่สุดของโลก ด้วยเครื่องยนต์ V8 ขนาด 806 แรงม้าที่ 7000 รอบต่อนาที

ความเร็ว 0- 100 ภายใน 3.2 วินาที และสามารถทำความเร็ว Guinness World Record ไว้ที่ 395 กิโลเมตรต่อชั่วโมง





อันดับที่ 5
Saleen S7

ราคา $637,723 US

ซาลีน บริษัทผลิตรถสปอร์ทสุดยอดของ สหรัฐอเมริกา ด้วยการออกแบบดีไซน์โดย Stave Saleen

เพื่อให้เป็นสุดยอดรถรถแข่งชั้นแนวหน้าเพื่อการแข่ง luxurious grand touring cars ทำให้ Saleen S7

ออกแบบมาพร้อมเครื่องยนต์ V8 พลัง 750 แรงม้า ความเร็ว 0-100 เพียง 6 วินาที แต่ความเร็วตีนปลายทำได้ถึง 320 Km/h





อันดับที่ 4

Leblanc

ราคา $645,084 US

มาถึงอันดับที่ 4 Leblanc รถยนต์ต้นแบบ ผลิตภัณต์ใหม่ของ Mirabaeu Super Car เพื่อใช้ในการแข่งขัน

ด้วยน้ำหนักตัวเพียง 870 กิโลกรัม เครื่องยนต์แบบ V8 ขนาด 4.7 ลิตร 700 แรงม้าที่ 7600 รอบต่อนาที

ความเร็วตีนปลายทำไว้ที่ 370 Km/h ทำให้มีค่าตัวถึง 645,084 เหรียญสหรัฐ





อันดับที่3

SSC Ultimate Aero

ราคา $654,500 US

SSC Ultimate Aero รถสปอร์ทที่ผลิตขึ้นในประเทศสหรัฐ ความภาคภูมิใจของชาวอเมริกัน โดย Automaker SSC

ด้วยเครื่องยนต์ ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ 6.2 ลิตร V8 กำลัง 787 แรงม้า

ทะยานตัวด้วยความเร็ว 0-60 ไมล์ใช้เวลาเพียง 2.9 วินาที และเป็นรถยนต์ที่มีสถิติความเร็วสูงถึง 400 Km/h






อันดับที่ 2
Pagani Zonda Roadster F C12S 7.3, Clubsport version

ราคา $667,321 US

รถสปอร์ทสัญชาติอิตาลี่ Pagani เป็นอีกเวอร์ชั่นการดีไซน์ออกแบบของ Zonda flagship ใช้เครื่องยนต์

แบบ V12 วางกลางลำ 555 แรงม้าที่ 5900 รอบต่อนาที F C12S 7.3

ถูกจัดให้เป็นรถยนต์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับสองของโลก แม้จะทำความเร็วสูงสุดเพียง 344 Km/h







อันดับที่ 1
Bugatti veyron 16.4

ราคา $1,192,000 US

บูกัตติ เวอร์รอน 16.4 ถูกจัดอันดับให้เป็นรถยนต์ที่แพงที่สุดในโลก ผลิตขึ้นในประเทศฝรั่งเศส

ภายใต้การควบคุมดูแลของ Volkswagen เครื่องยนต์ของ Veyron 16.4 ใช้เครื่องยนต์แบบ V8 จำนวน 2 เครื่อง

วางในลักษณะ W 16 สูบ กลางลำตัว พ่วงเทอร์โบชาร์เจอร์ถึง 4 ลูก ให้กำลังสูงสุด 1001 แรงม้าที่ 6000 รอบต่อนาที

การทะยานตัวจาก 0- 100 เพียง 3 วินาที และ 0 ? 300 กิโลเมตร เพียง 14 วินาที

ส่วนความเร็วตีนปลายทำได้ถึง 407 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องบินบินได้อย่างไร

 เครื่องบินบินได้อย่างไร
เครื่องบินจะลอยตัวไปในอากาศได้นั้น ตัวเครื่องบินจะต้องมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกของเครื่องบินปะทะกับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านไปทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่างปีกขึ้นไปด้านบน อันเนื่องมาจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น และแรงดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดันตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้น
ไปได้ในอากาศตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่
    เครื่องบินจะเดินทางไปข้างหน้าได้ก็ด้วยอาศัยแรงขับ (Thrust) ที่มีเครื่องยนต์และใบพัด หรือเครื่องยนต์ไอพ่น ผลักมวลอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาขับให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อเครื่องบินเคลื่อนตัวมีความเร็วไปข้างหน้าก็จะปะทะกับ กระแสอากาศเกิดเป็นแรงต้าน (Drag) มีทิศทางสวนไปทางด้านหลังพยายามต้านให้ความเร็วของ เครื่องบินลดลง
    แรงดันของอากาศภายใต้ปีกที่เกิดจากกระแสอากาศขณะที่ เครื่องบินผ่านอากาศเรียกว่า แรงยก (Lift) น้ำหนักของเครื่องบินรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกทำให้เกิดแรงถ่วง ลงข้างล่างสู่พื้นโลก เนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลกเราเรียกว่า แรงโน้มถ่วง (Gravity) ในขณะที่เครื่องบินทำการวิ่งขึ้น (Take Off) แรงขับต้องมากว่าแรงต้าน และแรงยกต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินตรงระดับ (Level Flight) แรงยกจะเท่ากับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินลงสู่สนามบิน(Landing) แรงขับต้องน้อยกว่าแรงต้าน และแรงยกต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง
    จากความจริงที่รู้ๆกันโดนทั่วไปว่าเครื่องบินจะบินได้ต้องมีความเร็วไป ข้างหน้าด้วยแรงขับจากเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่น หากเราทราบต่อไปว่ากระแสอากาศจากความเร็วเครื่องบินทำให้เกิดแรง ยกขึ้นที่ปีกได้อย่างไร ก็จะทำให้เราทราบว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้อย่างไร
    ลักษณะของปีกเครื่องบิน
    โดยทั่วไปวัตถุที่มีรูปลักษณะเป็นแผ่น มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว่างและความยาว และสามารถร่อนหรือปลิวไปในอากาศได้ เราเรียกวัตถุนั้นว่า "แอร์ฟอยล์" (Airfoil) ซึ่งนิยมเรียกเป็นภาษาไทยว่า "แพนอากาศ" เช่นแผ่นกระดาษ หรือปีกของเครื่องบิน ปีกของเครื่องบินมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยาวของปีกขวางกับแนวแกนของลำตัว เมื่อมองจากด่านบนจะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายไม้บรรทัดหรือเป็นแผ่นยาว ปลายโค้งมนเรียว บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่มีอยู่ลักษณะหนึ่งที่เหมือนกันคือ ถ้าราตัดปีกออกตามขวางกับแนวแกนปีก คือให้รอยตัดขนาดกับแนวแกนลำตัว ก็จะมองเห็นรูปร่างของภาคตัดขวางที่คล้ายๆกัน ปีกของเครื่องบินแบบต่างๆจะมีลักษณะของรูปภาคตัด    ขวาง (Airfoil Section) คล้ายๆกับรูปคิ้วของคนซึ่งก็จะแตกต่างกัน ไปบ้างเช่นที่เรามองเห็นว่า โค้งมาก โค้งน้อย กว่ากันและขนาดแตกต่างกัน
    เมื่อกระแสอากาศไหลผ่านปีกความกดดันของกระแสอากาศทำให้เกิดแรงยกได้อย่างไร
    มวลกระแสอากาศที่ไหลอย่างต่อเนื่องเมื่อผ่านปีกที่ชายหน้าของปีกก็จะแยกตัวออกเป็น 2 ส่วน ไหลเป็นกระแสอากาศด้านบนและกระแสอากาศด้านล่าง มวลกระแสอากาศที่แยกตัวออกจากกันนั้นจะไหลไปบรรจบกันที่ชายหลังของปีกในเวลาใกล้เคียงกัน อากาศที่ไหลไปด้านบนของปีกที่เป็นรูปผิวโค้งของปีกซึ่งมีระยะทางที่ยาวกว่า จึงมีความเร็วสูงกว่ากระแสอากาศที่ไหลผ่านมาทางใต้ปีก ความกดดันของกระแสอากาศด้านบนปีกจึงลดลงต่ำกว่าความกดดันของกระแสอากาศด้านใต้ปีก ตามหลักการของเบอร์โนลี่ และถ้าหากปีกเอียงทำมุมปะทะกับกระแสอากาศมากขึ้น มวลของกระแสอากาศที่ปะทะและผ่านไปใต้ปีกก็จะยิ่งทำให้ความดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกทั้งหมดรวมกันเป็นแรงยกที่ปีก ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปได้ในอากาศ
    ปรับแต่งระดับได้ ( Adjustable) จึงสรุปได้ว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้ก็เพราะเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่นขับดันให้เครื่องบินมีความเร็ว ไปข้างหน้าทำให้ปีก เครื่องบินผ่านกระแสอากาศที่มีความเร็ว กระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปข้างล่างปีกทำให้เกิดแรงดันขึ้นไปข้างบนปีกประกอบกับ ความดัน ของกระแสอากาศที่ไหล ผ่านปีกไปข้างบนยิ่งลดลงเมื่อความเร็ว ของกระแสอากาศเพิ่มขึ้นทำให้ความดันของกระแสอากาศข้างใต้ปีกสูงกว่าข้างบนปีก ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเครื่องบินมีความเร็วมากพอ ความดันของกระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปทางใต้ปีกทั้งหมดรวมกันจะเพิ่มขึ้นเป็นแรงยก ที่ปีกมากพอ ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปในอากาศได้ตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่
    พื้นที่บังคับการบิน
    Aileron : เป็นพื้นผิว ที่เคลื่อนไหวได้ใช้ในการควบคุม ท่าทาง ของ เครื่องบิน ติดตั้งอยู่ที่ ชายปีกหลัง ส่วนของปลายปีก ทั้งสองข้าง จุดมุ่งหมายเพื่อ ควบคุมอาการเอียงของเครื่องบิน หรือเคลื่อนที่รอบแกน Longitudinal Axis โดยสร้างความแตกต่าง ของแรงยกบนปีกทั้งสองข้างของเครื่องบิน เมื่อเราใช้พื้นที่บังคับการบินนี้ควบคุมการบิน เช่นโยกซ้ายหรือขวา ก็จะส่งผลให้ตัวเครื่องบินหมุนตัวรอบแกนลำตัว
Elevator : เป็นพื้นผิว ที่ ขยับ เคลื่อนไหว ได้ ใช้ ในการ ควบคุม ลักษณะบิน ของเครื่องบิน ออกแบบมา เพื่อใหัเครื่องบิน ยกหัวขึ้นหรือลง หรือเคลื่อนที่รอบแกน Lateral Axis ติดตั้งอยู่ที่ชายหลังของแพนหาง
Flap : ติดตั้งอยู่ที่ชายปีกหลัง ใกล้กับลำตัว จะเป็นใน ลักษณะ คล้าย บานพับ หรือ แบบเลื่อนถอยออกไปก็ได้ เพื่อเพิ่ม หรือลด แรงยกของปีก โดยเพิ่มพื้นที่ และความโค้งของปีก โดยปกติแล้ว จะใชัตอนจะบินขึ้น และตอนลง
Rudder : เป็นพื้นผิวที่เคลื่อนไหวได้ ติดตั้งอยู่ที่ชายหลัง ของกระโดงหาง ทำให้หัวเครื่องบิน หันไป ทางซ้าย หรือขวา หรือเคลื่อนที่รอบแกน Vertical Axis
Rudder Pedal : เป็นส่วนที่นักบินใช้ควบคุมการทำงานของ Rudder ติดตั้งอยู่ที่พื้น นักบินจะใช้เท้าเหยียบ สองเท้า ถ้าเหยียบเท้าซ้าย เครื่องบิน ก็จะหันไปทางซ้าย ถ้าเหยียบ เท้าขวา เครื่องบินก็จะหันไปทางขวา เพราะว่ามันไปควบคุม Rudder
Stabilizer : เป็นพื้นผิวที่อยู่ กับที่ เพื่อช่วยให้เครื่องบิน รักษา ลักษณะ ท่าทางการบินได้คงที่ ได้แก่กระโดงหาง ( Vertical Stabilizer) และ แพนหาง ( Horizontal Stabilizer) สำหรับ แพนหางนั้น สามารถ
 การควบคุมทิศทางการบิน
แกนของการหมุน  เครื่องบิน มีแกนของการหมุน อยู่สามแกน เรียกชื่อว่า แกน longitudinal , แกน vertical , และ แกน lateral . ดูรูปภาพ ข้างล่างประกอบ แล้วคุณจะเข้าใจ วิธีที่ง่าย ที่จะเข้าใจ แกนเหล่านี้ ง่ายๆคือ คิดว่า มีไม้อันยาวมาเสียบผ่านเครื่องบิน จากหัวเครื่องบิน, จากปีกเครื่องบิน, และอีกอันผ่านจุดที่มีไม้ สองอันตัดผ่านกันอยู่ และจุดที่ไม้สามอันตัดผ่านกันนั้น ดังรูป เราถือเอาว่าคือจุดศูนกลาง ที่น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบิน จะกระทำที่จุดนี้ (center of gravity).
แกนตามยาว ตั้งแต่หัวไปจรดหาง เรียกว่า แกน longitudinal axis, และการ หมุน หรือ เคลื่อนที่ของลำตัว รอบแกนนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Roll "
แกนขวางจากปีกข้างหนึ่งไปยังปีก อีกข้างหนึ่ง เรียกว่า แกน lateral axis, และการหมุน หรือ เคลื่อนลำตัว รอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Pitch "
แกนในแนวตั้ง ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า center of gravity (เมื่อเครื่องบิน บินอยู่ในแนวระดับ ) เราเรียกว่า แกน vertical axis, และการหมุน หรือเคลื่อนที่ ของลำตัวรอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ ว่า " Yaw "
แกน Longitudinal Axis:
แกนที่วิ่งจาก หัวเครื่องบิน จนถึงหางเครื่องบิน คือ แกน longitudinal axis ( ดูภาพข้างบนประกอบ ). การเคลื่อนที่รอบแกนนี้ เรียกว่า Roll. ลักษณะ ที่เครื่องมีอาการ Roll เป็นผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของ ailerons. Ailerons ติดตั้งอยู่ที่ปลายปีก และควบคุมโดย control column ในห้องนักบิน และสร้างมาในลักษณะ ที่ aileron ข้างหนึ่ง กระดก ลงล่าง แต่อีกข้างหนึ่ง จะกระดกขึ้นบน.
เมื่อ aileron มีการเคลื่อนไหว จากตำแหน่งศูนย์ หรือตำแหน่งแนวระดับ , จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ แรงยกของปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง การทำให้ปีก ครื่องบินยกขึ้น, aileron ของปีกนั้น ต้องกระดกลง . ปีกที่มี aileron กระดกลงก็จะทำให้แรงยกบนปีกนั้นเพิ่มขึ้น และ ปีกที่มี aileron กระดกขึ้น ก็จะมีแรงยกลดลง สิ่งนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไป ทางด้านที่ aileron กระดกขึ้น ailerons ของปีกทั้งสองข้างต่อไปยัง control column ในห้องนักบินโดยระบบ mechanical linkage. เมื่อ เมื่อคันบังคับหมุนไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางขวา ), aileron ทางปีกขวา จะกระดกขึ้น และ aileron ทางปีกซ้ายจะกระดกลง ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ แรงยกทางปีกซ้ายจะเพิ่มขึ้น และ แรงยกทางปีกขวา จะลดลง เป็นเหตุให้เครื่องบิน เอียงไปทางขวา. แต่ถ้าหมุนคันบังคับไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางซ้าย ) แรงบนปีกก็จะเกิดตรงกันข้าม เป็นเหตุให้เครื่องบินเอียงไปทางซ้าย
แกน Lateral Axis
แกน lateral axis เริ่มจากปลายปีกถึงปลายปีก ลักษณะการเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis เรียกลักษณะ นี้ว่า pitch อะไร เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ pitching มันคือ elevator ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ แพนหาง ( horizontal stabilizer). elevator สามารถกระดกขึ้น หรือกระดกลงได้ เมื่อนักบินบังคับคันบังคับ ( control column or stick) ถอยหลัง หรือไปข้างหน้า.
การดึง คันบังคับมาข้างหลัง จะบังคับให้ elevator กระดกขึ้น. (ดูรูปภาพข้างบน ประกอบ) ลมที่ประทะกับพื้นผิวด้านบนของ elevator ที่กระดกขึ้น ทำให้เกิดแรงกดมากขึ้น เป็นเหตุให้ส่วนหางของเครื่องบิน ถูกกดลง การเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis, เมื่อหางเคลื่อนที่ลง (pitches) , ส่วนหัวของเครื่องบิน (pitches) เชิดขึ้น เครื่องบินไต่ระดับ .
การผลัก คันบังคับไปข้างหน้า เพื่อบังคับ elevator ให้กระดกลง . ลมที่ประทะ กับพื้นผิวด้านล่างของ elevator ที่กระดกลง ทำให้เกิดแรงด้านล่างมากขึ้น กว่าด้านบน เป็นเหตุให้ส่วนหาง ของเครื่องบินกระดกขึ้น ( pitch up ) และ หัวของเครื่องบินกระดกลง เป็นเหตุให้หัวเครื่องบินดิ่งลง
แกน Vertical Axis:
แกนที่สาม ซึ่งผ่านจากหลังคาด้านบน ทะลุท้องเครื่องบิน เรียกว่า แกน vertical หรือ yaw axis. หัวเครื่องบิน เคลื่อนที่ ไปรอบแกนนี้ จากด้านข้างหนึ่ง ไปอีกด้านข้างหนึ่ง Rudder ของเครื่องบิน ซึ่งเคลื่อนไหว โดยการที่นักบิน ใช้เท้าเหยียบไปบน แผ่น rudder ที่อยู่บนพื้น rudder ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของเครื่องบินรอบแกนนี้ Rudder เป็นแผ่นบังคับ ที่เคลื่อนไหว ติดอยู่กับกระโดงหาง การเหยียบลงบน ( rudder pedal ), แผ่นบังคับด้านขวา rudder ก็จะตวัดไปทางขวา, เหยียบ แผ่นบังคับที่พื้น ไปทางซ้าย จะบังคับให้ rudder ตวัด ไป ทางซ้ายt, เมื่อนักบิน เหยียบแผ่นบังคับทางซ้าย, นั่นหม ายความว่า ถ้านักบิน กำหนดทิศทางของ Rudder ให้ตวัดไปทาง ทางซ้าย นี่ก็ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหาง แผ่นหางของเครื่องบิน หางของเครื่องบินก็จะเบนไปทางขวา และ หัวของเครื่องบิน ก็จะเบนไปทางซ้าย( yaw to the left).

บทความนี้นำมาจาก   http://www.oocities.com/thaiinterhobby/knowledge.htm

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความประทับใจที่ได้เป็นนักเรียน1/1

ผมเด็กชายอัครพนธ์  ทรงทรัพย์วัฒนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1
มีความประทับใจมากๆที่ได้เป็นเด็กห้องเรียนพิเศษ(ห้องเรียนดีเป็นพิเศษ), ตั้งแต่วันแรกผมมาสมัครเรียนผมไม่รู้จักใครเลย หลังจากนั้นทางโรงเรียน
มีการเรียนพิเศษผมก็เริ่มรู้จักเพื่อนจากวันที่เรียนพิเศษและรู้จักเพิ่มขึ้น
เปิดเทอมแรกผมตื่นเต้นมากที่จะได้เข้ามาเป็นนักเรียนในโรงเรียนวังจันทร์วิทยา
แต่งตัวตามกฎและเรียนตามแบบฉบับของโรงเรียน คุณครูที่โรงเรียนใจดีบ้างแต่บางคนที่ดุด่าว่าก็แสดงว่าเขารักเรามาก
ส่วนการทำงานอาจจะยากนิดหนึ่งแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีและจากนี้การกระทำ
ที่ไม่ดีในตอนนั้นคงต้องขอโทษและหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้จากชั้นม.1
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในม.2และจะตั้งใจเรียนเป็นเด็กดีของครอบครัวครับ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รถคันแรกของโลกมี 3 ล้อ!!



Benz นำเครื่องยนต์หนึ่งแรงม้ามาใส่ในจักรยาน?เป็นหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ Neue Badische Landeszeitung(หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายในแคว้น Baden ทางตอนใต้ของเยอรมนี)ฉบับวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1886 บทความดังกล่าวเขียนไว้ว่า
       
       ?
มันได้เรียกความสนใจอย่างมากจากเพื่อน ๆ ที่ยังคงใช้รถจักรยานสองล้ออยู่ ยิ่งได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่นี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Benz & Cie. บริษัทในท้องถิ่นที่เป็นผู้ผลิตจักรยานแบบสามล้อ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นบริษัทที่ทำการผลิตเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์นี้มีกระบอกสูบเพียง 9 เซนติเมตรและถูกติดตั้งไว้บนขดสปริงเหนือเพลาระหว่างสองล้อหลัง ผลิตกำลังได้เกือบ ๆ จะหนึ่งแรงม้า รอบเครื่องยนต์หมุน 300 รอบภายในหนึ่งนาที รูปร่างของรถคันนี้ก็ไม่ได้แตกต่างหรือใหญ่โตกว่ารถจักรยานแบบสามล้อทั่วไปอย่างไรก็ตามจากรูปลักษณ์ก็ดูคล่องแคล่วไม่ใช้น้อย และสร้างความประทับใจเมื่อแรกเห็นเป็นอย่างมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างมากต่อไปรวมไปถึงการปรับปรุงให้ใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมและจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานสำหรับแพทย์, นักเดินทาง, นักกีฬาและอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตอันใกล้?

              โดยตัวของผู้เขียนบทความกล่าวดังกล่าวน่าจะเป็นพวกผู้ชื่นชอบกีฬาที่ต้องใช้ยานพาหนะเป็นส่วนประกอบ เพราะกีฬาที่อาศัยการหมุนของล้อกลม ๆ เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลไม่ใช่น้อยเพระเขามีความเชื่อมั่นและมีโอกาสสัมผัสกับความพิเศษของยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์น้ำหนักเบาและเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขณะนั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1886 นักข่าวคนเดียวกันได้รายงานไว้ว่า?เครื่องยนต์เบนซินที่ออกแบบและผลิตโดย Rheinische Gasmotorenfabril Benz & Cie. ซึ่งเป็นหัวข้อข่าวไปเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนถูกทดสอบเช้าวันนี้ที่ Ringstrbe และผลการทดสอบเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างมาก?
  
       
ในปี 1886 คาร์ล เบนซ์ ได้พัฒนายนตรกรรมคันแรกของโลกที่ผลิตภายใต้แนวคิดแบบองค์รวม โดยมีการนำตัวยานพาหนะ และเครื่องยนต์มาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างระบบเครื่องจักรกลอันมีประสิทธิภาพที่น่าทึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก หมายเลขสิทธิบัตรของยนตรกรรมคันนี้ คือ DRP no. 37435 ที่ออกให้โดยสำนักงาน Imperial Patent Office เมื่อวันที่ 29 มกราคม ปี 1886 น้ำหนักโดยรวมของรถอยู่ที่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัม เฉพาะเครื่องยนต์อย่างเดียวก็หนักเกินกว่า 100 กิโลกรัม จึงทำให้ยนตรกรรมจากเบนซ์คันนี้มีน้ำหนักเบาเป็นอย่างมาก ระบบขับเคลื่อนก็มีความทันสมัยอย่างยิ่งในขณะนั้น ด้วยห้องเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในของเครื่องยนต์เป็นแบบสูบเดียว 4 จังหวะที่ติดตั้งในแนวนอนช่วยสร้างศักยภาพในการระบายความร้อนตามแบบ Thermosyphon และระบบการหล่อหลื่นแบบ drip lubrication

โครงสร้างของตัวถังทำจากเหล็กที่ตัดเชื่อมให้โค้งงอเข้ารูป และด้วยเหตุที่เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังในกรณีเช่นที่ต้องเข็นรถจากทางด้านหลัง Karl Benz เกรงว่าจะเกิดปัญหาให้กับระบบพวงมาลัยซึ่งมีระบบที่แตกต่างไปจากยานพาหนะที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เขาจึงตัดสินใจให้รถยนต์คันแรกของมีเพียงสามล้อเท่านั้น โดยที่ล้อหน้าติดตั้งในลักษณะเหมือนกับล้อรถจักรยานและควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยแรงดึงจากเฟืองซึ่งเชื่อมต่อกับข้อเหวี่ยง(ป็นการใช้งานในขั้นตอนแรกเริ่มก่อนที่ Benz จะประดิษฐ์ระบบพวงมาลัยแบบ SdoubleOpivot ซึ่งเป็นต้นแบบที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งยิ่งต่อวงการยานยนต์ของโลกในปี 1893)
  
       Benz
ได้ผลิตล้อแบบซี่ลวดและยางตันด้วยตัวของเขาเองมีเพียงขอบล้อเท่านั้นที่เป็นแบบ outsourced ล้อหน้าทำงานด้วยลูกปืนล้อส่วนล้อหลังงมีปลอกทำด้วยดีบุกหุ้มป้องกันการเสียดสี ขับเคลื่อนด้วยโซ่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขับเคลื่อนเพลาถ่วงดุลน้ำหนักเบาที่ล้อหลังซึ่งจะส่งผลต่อตัวรถเช่นเดียวกับเพลาหลังแบบแข็งและสปริงรูปไข่

  
       
รถยนต็คันแรกของโลกมีเพียงเกียร์เดียวและไม่มีเกียร์ถอยหลัง ความเร็วที่ใช้ในการขับเคลื่อนได้มาจากเพลาถ่วงดุลย์ที่ประกอบด้วยจานขับตัวหลักและเฟืองขับพร้อมทั้งตัวควบคุมรอบเดินเบา ลิ้นเปิดปิดควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องยนต์กับเพลาถ่วงดุลย์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคลัทช์ การสตาร์ทเครื่องยนต์ทำโดยหมุนสายพานที่อยู่ระหว่างจานที่ควบคุมรอบเดินเบากับจานขับหลัก ความเร็วที่ใช้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของปลอกลูกเลื่อนที่อยู่ใต้เบาะที่นั่งคนขับ
       

       
รถคันที่โชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เมอร์เซเดส- เบนซ์ ณ เมืองสตุ๊ตต์การ์ตขณะนี้นั้นเป็นแบบจำลองจากของจริงที่ คาร์ล เบนซ์ผลิต เพราะเขาได้อุทิศให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในเมืองมิวนิค เมื่อปี 1906



บทความของเรานำมาจาก http://www.thaibuycar.com/content/preview.php?conid=148